ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
HOW WE BECOME REGISTRAR NETWORK
ที่มาการจัดทำความร่วมมือ
ระหว่างเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพงานทะเบียน


สืบเนื่องจากการพูดคุยระหว่างเครือข่ายงานทะเบียนทั่วประเทศเกี่ยวกับการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถเทียบเคียงและเกื้อกูลกันส่งเสริมให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงจัดการประชุมหารือ กลุ่มเล็ก เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2559 ณ ห้องขุมทรัพย์แห่งปัญญา สำนักงานทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยเชิญตัวแทนมหาวิทยาลัยในแต่ละภาค จำนวน 6 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อหาข้อสรุปและเริ่มดำเนินการเป็นตัวอย่างและนำผลที่ได้ไปนำเสนอในการประชุมเครือข่ายงานทะเบียนทั่วประเทศเพื่อขยายครือข่ายเพิ่มเติม
ผลสรุปที่ได้จากการประชุมร่วมกัน มี 2 ประเด็น คือ
- การสร้างมาตรฐานกลางสำหรับการดำเนินงานตามพันธกิจของงานทะเบียน
ภารกิจหลักของงานทะเบียนเป็นเรื่อง “งานบริการซึ่งผู้รับบริการต้องการความรวดเร็วและถูกต้อง” โดยกระบวนงานที่แต่ละหน่วยงานมีเหมือนกันและประสบปัญหาที่คล้ายคลึงกันหลักๆ 2 เรื่อง คือ เรื่องผลการศึกษา และใบรับรองการศึกษา ที่จะนำมาสร้างมาตรฐานกลางเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและสามารถนำมาเทียบเคียงกันได้ - การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานทะเบียน
การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ความสำคัญกับระบบที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานช่วยลดระยะเวลาการปฏิบัติงานโดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่สามารถดำเนินการได้เอง จำนวน 2 ระบบ คือ การเรียนข้ามสถาบัน เพื่อให้สามารถตรวจสอบและนำข้อมูลกลับไปใช้ที่มหาวิทยาลัยต้นสังกัดได้ และข้อมูลรายชื่อนักเรียนชั้น ม.6 ช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานสำหรับการตรวจหลักฐานการศึกษานักศึกษาใหม่ เพราะ สพฐ. ยังไม่มีระบบให้มหาวิทยาลัยเข้าไปตรวจสอบข้อมูล เริ่มต้นจากการใช้ระบบของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแม่แบบในการพัฒนาต่อยอด โดยให้แต่ละหน่วยงานประสานขอความร่วมมือจากโรงเรียนในเครือข่ายนำข้อมูลนักเรียน ม.6 เข้าระบบ สำหรับในระยะยาวถ้าโรงเรียนปรับข้อมูลนักเรียนที่จบ ม.6 ในระบบจะสามารถตรวจสอบการจบการศึกษาได้จริงโดยไม่ต้องเสียเวลาทำบันทึกไปสอบถามโรงเรียน
เรื่องการพัฒนาระบบฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะเป็นผู้ดำเนินการร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) และส่งให้ผู้อำนวยการแต่ละสถาบันลงนาม รวมถึงควรมีการตั้งทีมงาน IT ร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนและพัฒนาบุคลากรด้าน IT

“การเทียบเคียงวัตถุประสงค์ไม่ใช่เพื่อการแข่งขัน ควรตั้งเป้าว่าใครอ่อนช่วยกันดึงขึ้น ประสานและร่วมมือกัน” ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สรุปข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)

จากการประชุมพิจารณาร่างข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนางานทะเบียน เมื่อวันพุธที่ 2 กันยายน 2563 สรุป ดังนี้
1. ทบทวน (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนางานทะเบียนนักศึกษาระหว่างเครือข่ายงานทะเบียนมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย 2 ประเด็น
1.1 การจัดทำตัวชี้วัดของกระบวนการปฏิบัติงานด้านทะเบียนนักศึกษา (Key Performance Indicator) เพื่อสร้างมาตรฐานกลางงานทะเบียนนักศึกษา
1.2 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานทะเบียนนักศึกษาในการตรวจสอบคุณวุฒิการศึกษาของผู้เข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
2. ทบทวนรายละเอียดตัวชี้วัดของกระบวนการปฏิบัติงานด้านทะเบียนนักศึกษา (Key Performance Indicator) จำนวน 4 ตัวชี้วัด คือ
2.1 REG01 ร้อยละความถูกต้องของการประกาศผลการศึกษา
2.2 REG02 ร้อยละความสำเร็จในการดำเนินการให้บริการใบรับรองทางการศึกษา
2.3 REG03 ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการรับบริการทางการศึกษา
2.4 REG04 ร้อยละความถูกต้องของข้อมูลทะเบียนนักศึกษา
